คดีครอบครัว ฟ้องหย่า

ทนายคดีครอบครัว ฟ้องหย่า มีบริการดังนี้

1.รับว่าความคดีฟ้องหย่า เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู 

2.แบ่งสินสมรส เรียกค่าเลี้ยงชีพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร อำนาจปกครองบุตร ฟ้องชู้ เรียกค่าทดแทน คดีผิดสัญญาหมั้น 

2.รับว่าความคดีรับรองบุตร จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร

3.รับว่าความคดีตั้งผู้อนุบาล คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ

4.รับว่าความคดีรับบุตรบุญธรรม

5.รับว่าความคดีจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์

ปรึกษากับทีมงานทนายมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ ทนายภานุรุจ โทร.086-359-7156 , 095-942-3666 ID Line : 086-3597156

คดีฟ้องหย่า

การสิ้นสุดการสมรสเกิดขึ้นได้ดังต่อไปนี้

1 ตาย

2 ศาลพิพากษาให้เพิกถอน เนื่องจากการสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะ

3 โดยการหย่า ซึ่งทำได้ 2 วิธี

 3.1 โดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย โดยการทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน การหย่าต้องไปจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต

 3.2 คำพิพากษาของศาล ต้องมีเหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายด้วย

เหตุที่จะฟ้องหย่า มี 12 ประการ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 ดังนี้

(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง

(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง

(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ

(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาท หรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้

(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกิน 1 ปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกิน 3 ปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกิน 3 ปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกิน 3 ปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

มาตรา 1517 เหตุฟ้องหย่าตาม มาตรา 1516 (1) และ (2) ถ้าสามีหรือภริยา แล้วแต่กรณี ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้น จะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้

เหตุฟ้องหย่าตาม มาตรา 1516 (10) ถ้าเกิดเพราะการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้

    ในกรณีฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุแห่งการผิดทัณฑ์บนตาม มาตรา 1516 (8) นั้น ถ้าศาลเห็นว่าความประพฤติของสามีหรือภริยาอันเป็นเหตุให้ทำทัณฑ์บน เป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่าก็ได้

มาตรา 1518 สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปในเมื่อฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้ กระทำการอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็น เหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้นแล้ว

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฏีกา ที่น่าสนใจ

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 2692/2524

    โจทก์จำเลยแต่งงานจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภริยากัน จำเลยออกจากบ้านโจทก์ไปอยู่กับมารดา ไม่ยอมอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ เป็นการไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน และเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง ซึ่งเมื่อคำนึงถึงสภาพฐานะความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาแล้ว เป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์เดือดร้อนเกินควร เข้าเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(6) แล้ว

ผลการหย่าต่อบุคคลภายนอก    

    การหย่าโดยคำพิพากษาของศาลมีผลนับแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด โดยทั่วไปไม่ต้องไปจดทะเบียนหย่า แต่หากคู่หย่าต้องการใช้ยันบุคคลภายนอกผู้สุจริต ก็จะต้องไปดำเนินการจดทะเบียนหย่าด้วย

    เมื่อจดทะเบียนหย่าแล้ว บุคคลภายนอกจะไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ แม้ว่าจะทำนิติกรรมกับคู่หย่าโดยสุจริตก็ตาม กรณีมีสัญญาประนีประนอมยอมความให้บันทึไว้ในท้ายทะเบียนการหย่าด้วย

ประเด็น ทรัพย์สิน

สินสมรส ได้แก่ทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474

(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส เป็นต้น

(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส

(3) ที่เป็นดอกผลหรือกำไรสุทธิของสินส่วนตัว เช่น ค่าเช่า ดอกเบี้ย เป็นต้น

    ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

สินส่วนตัว ได้แก่ทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471

(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น

(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หา

(4) ที่เป็นของหมั้นของฝ่ายหญิง

การแบ่งสินสมรส และการชำระหนี้

    ให้แบ่งกันตามจำนวนที่มีอยู่ในวันฟ้องหย่า ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาหลังวันฟ้องหย่าย่อมตกเป็นของฝ่ายนั้น โดยได้ส่วนแบ่งในสินสมรสเท่าๆกัน

    หากมีหนี้ร่วมกันในระหว่างเป็นสามีภริยา ความรับผิดในหนี้ร่วมต้องแบ่งตามส่วนเท่ากัน โดยมิต้องคำนึงถึงกองสินส่วนตัว หรือส่วนแบ่งสินสมรสที่ชายหญิงนั้นได้รับไป  หากคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำหน่ายสินสมรสในลักษณะที่ทำให้อีกฝ่ายเสียประโยชน์ หรือโดยไม่ได้รับความยินยอม คู่สมรสฝ่ายที่จำหน่ายจะต้องชดใช้ให้แก่กองสินสมรสเท่ากับจำนวนที่จำหน่ายไป ทำให้จำนวนสินสมรสที่จะนำมาแบ่งคงมีจำนวนเท่าเดิมก่อนการจำหน่าย การชดใช้ดังกล่าวจะชดใช้จากสินสมรสส่วนของตนหรือจากสินส่วนตัวก็ได้

ประเด็น ค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพ ระหว่างคู่สมรส

ค่าทดแทน

    เป็นเงินที่จำเลยในคดีฟ้องหย่าจ่ายเป็นค่าเสียหายให้แก่คู่สมรสฝ่ายโจทก์ ได้แก่ กรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตาม มาตรา 1516(1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากหญิงอื่นหรือชู้ แล้วแต่กรณีได้ หากตนมิได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในอีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตามมาตรา 1516 (1)

    นอกจากนี้ ถ้าเหตุแห่งการหย่าตาม มาตรา 1516 (3) (4) หรือ (6) เกิดขึ้นเพราะฝ่ายผู้ต้องรับผิดชอบก่อให้เกิดขึ้นโดยมุ่งประสงค์ให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่อาจทนได้ จึงต้องฟ้องหย่าอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากฝ่ายที่ต้องรับผิด

    การกำหนดค่าทดแทนศาลจะวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์ โดยศาลจะสั่งให้ชำระครั้งเดียวหรือแบ่งชำระเป็นงวดๆ ก็ได้

ค่าเลี้ยงชีพ

    เป็นเงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งต้องรับผิดชอบเมื่อมีการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ได้แก่ การฟ้องหย่าที่เกิดจากความผิดของคู่สมรสที่ถูกฟ้อง หากการหย่าจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรสคู่สมรสที่เป็นฝ่ายที่เป็นฝ่ายผิดในคดีหย่าจะต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพด้วย ซึ่งค่าเลี้ยงชีพอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนภายหลังได้แล้วแต่พฤติการณ์ ทั้งนี้ค่าเลี้ยงชีพมีลักษณะเฉพาะตัว สิทธิจะได้รับค่าเลี้ยงชีพจะสละ หรือโอนมิได้ และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี

ประเด็นเกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์นั้น

การใช้อำนาจปกครองบุตร

    ถ้าตกลงกันไม่ได้ศาลจะเป็นผู้ชี้ขาด โดยคำนึงถึงความผาสุกของเด็กเป็นสำคัญ และกฎหมายตาม มาตรา 1582 ให้อำนาจศาลที่จะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรส หากมีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองได้ เช่น ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ เป็นต้น

ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

    ศาลมีอำนาจกำหนดว่า สามีภริยาทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด โดยพิจารณาจากความสามารถทางการเงินของทั้งสองฝ่าย แม้บิดามารดาจะถูกถอนอำนาจปกครองทั้งหมดหรือบางส่วนก็ไม่เป็นเหตุให้พ้นจากหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น จะชำระเป็นเงินหรือชำระเป็นอย่างอื่นก็ได้โดยอาจจะมีการปรับเปลี่ยนจำนวนใหม่ภายหลังก็ได้หากพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไปสิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู นั้นจะสละหรือถอนไม่ได้และไม่อยู่ในข่ายบังคับคดี

สิทธิในการติดต่อบุตร

    คู่สมรสฝ่ายที่ไม่มีอำนาจปกครองหลังจากศาลมีคำพิพากษาให้หย่าย่อมมีสิทธิติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์

เอกสารประกอบการยื่นคำฟ้อง

1 ใบสำคัญการสมรส พร้อมคำแปลภาษาไทย (กรณีจดทะเบียนสมรสต่างประเทศ)

2 ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว

3 ทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวประชาชนสามีภริยา

4 Passport พร้อมคำแปลภาษาไทย

5 หลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์สินสมรส เช่น โฉนดที่ดิน รายการจดทะเบียนรถยนต์ สมุดบัญชีเงินฝาก เป็นต้น

6 สูติบัตรบุตร (ถ้ามี)

7 หนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อ - สกุล (ถ้ามี)

8 บันทึกข้อตกลงการหย่า (ถ้ามี)

       จากหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้นนั้นหากท่านประสบปัญหาอยู่ต้องการที่จะฟ้องหย่าหรือถูกคู่สมรสฟ้องหย่ามาแล้วและท่านได้รับหมายศาลมาที่บ้านของท่านแล้วให้ติดต่อทนายทันทีทางทีมงานสามรถช่วยท่านได้

ดังนั้น หากพูดแบบภาษาชาวบ้านว่า หากคู่สมรสของท่านทิ้งร้างท่านไปเกิน 1 ปี หรือ แยกกันอยู่มากกว่า 3 ปี ขึ้นไป หรือคู่สมรสมีชู้หรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา หรือ คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประพฤติตนไม่เหมาะสมเช่น ติดการพนัน ติดยาเสพติด หรือทำร้ายร่างกายเป็นอาจิณ ซึ่งอาจถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการประพฤติชั่ว หรือ กระทำการใดๆที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง เช่นขับไล่อีกฝ่ายออกจากบ้านไม่ให้อาศัยอยู่ด้วย หรือกระทำการใดๆให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ หรือไม่อุปการะเลี้ยงดูฝ่ายหนึ่งจนได้รับความเดือนร้อนอย่างร้ายแรง

คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งสามารถติดต่อทนายความเพื่อฟ้องหย่าต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้

คดี

 

 

            

 

Visitors: 170,241